ข่าวด่วน ทันเหตุการณ์ เศรษฐกิจ การลงทุน หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ไอที-เทคโนฯ รถยนต์ ท่องเที่ยว ต่างประเทศ รวดเร็วสดใหม่ทุกวัน

ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีระหว่างกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งราชอาณาจักรไทย และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

GOV

ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีระหว่างกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งราชอาณาจักรไทย และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่าง อว. และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Memorandum of Understanding on Promoting Academic, Scientific, and Technological Cooperation between the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation of the Kingdom of Thailand and the Chinese Academy of Sciences of the People’s Republic of China) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของประเทศไทย ให้ อว. หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้นๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

          2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ

[จะมีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในช่วงการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน 2565]

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          อว. รายงานว่า

          1. ร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ อว. และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อทดแทนฉบับเดิม (ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 ธันวาคม 2559) เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบนโยบาย ทิศทางการดำเนินความร่วมมือ และความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย ในบริบทปัจจุบัน โดยมีสาระสำคัญและกรอบการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

สาระสำคัญ

วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน บนหลักการการพึ่งพาอาศัยกันและผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน

สาขาความร่วมมือ

- การเกษตรและอาหาร เทคโนโลยีการเกษตร

- วิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์

- ดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์

- เทคโนโลยีสารสนเทศ

- วิทยาการหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์

- ชีวเคมี ความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ

- เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

- วัสดุศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี

- พลังงาน

- เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

- นิวเคลียร์และรังสี เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน เทคโนโลยีเซนเซอร์

- เทคโนโลยีอวกาศ

- การบริหารจัดการลุ่มน้ำและทรัพยากรน้ำ

- การประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่จากการสำรวจด้วยดาวเทียมและข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลกเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

- เทคโนโลยีทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเกษตรยั่งยืนที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

- การสื่อสารและการเผยแพร่ทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ การตระหนักรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ และนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์

รูปแบบของความร่วมมือ

เช่น (1) การส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัย ภาคเอกชน องค์กรภาครัฐ และสถาบันอุดมศึกษา (2) แลกเปลี่ยนทุนการศึกษาสำหรับผู้เชี่ยวชาญอาวุโส นักวิจัย และนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (3) แลกเปลี่ยนทุนการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านเทคนิคและนักศึกษาเพื่อเข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมในสาขาที่เห็นชอบร่วมกัน (4) การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (5) การแลกเปลี่ยนการจัดนิทรรศการเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (6) การดำเนินโครงการวิจัยร่วม เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ จะพิจารณาร่วมกันเป็นรายกรณีไป

สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

ความเป็นเจ้าของและการใช้ผลลัพธ์หรือผลผลิตที่ได้รับจากโครงการความร่วมมือหรือกิจกรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะต้องแบ่งปันอย่างเท่าเทียมกันและไม่อาจเปิดเผยต่อหรือใช้ประโยชน์โดยภาคีที่สามได้ โดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือการจัดทำข้อตกลงแยกต่างหากที่ลงนามโดยสถาบันในสังกัด

ผลบังคับใช้

นับตั้งแต่วันที่ภาคีลงนาม และจะยังคงมีผลบังคับใช้จนกว่าจะถูกยกเลิกโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 6 เดือน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11708

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

พาณิชย์

No result...