ข่าวด่วน ทันเหตุการณ์ เศรษฐกิจ การลงทุน หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ไอที-เทคโนฯ รถยนต์ ท่องเที่ยว ต่างประเทศ รวดเร็วสดใหม่ทุกวัน

ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร Q3/2565 ขยายตัวชะลอลง คาดส่งออกในปี 2566 ยังคงขยายตัวได้ แต่เผชิญความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่อาจเข้าสู่สภาวะถดถอย

11644 KT Compass

ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร Q3/2565 ขยายตัวชะลอลง คาดส่งออกในปี 2566 ยังคงขยายตัวได้ แต่เผชิญความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่อาจเข้าสู่สภาวะถดถอย

โดย สุคนธ์ทิพย์ ชัยสายัณห์, กฤชนนท์ จินดาวงศ์, ปราโมทย์ วัฒนานุสาร, อังคณา สิทธิการ

Krungthai COMPASS

 

Key Highlights

          • มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทยในไตรมาส 3 อยู่ที่ 12,211 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเป็น 7.1%YoY โดยสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ไก่ น้ำตาลทราย และอาหารสัตว์เลี้ยง ส่วนสินค้าที่ส่งออกหดตัว ได้แก่ มันสำปะหลัง ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง

          แม้การส่งออกจะได้รับปัจจัยหนุนจากเงินบาทอ่อนค่า และผลจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ ทำให้คู่ค้าเร่งนำเข้าสินค้าในกลุ่มอาหาร แต่ตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักได้รับผลกระทบจากมาตรการ Zero-COVID ทำให้การส่งออกไตรมาส 3 ขยายตัวในอัตราที่ลดลง

          • Krungthai COMPASS มองว่า ในปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทยจะยังสามารถขยายตัวได้ แต่มีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นตลาดหลักสินค้าเกษตรไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าเกษตรกลุ่มที่เคยเติบโตดีในปีที่ผ่านมาจะเริ่มขยายตัวชะลอลง เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง อีกทั้งต้นทุนราคาวัตถุดิบและราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูงจะกดดันอัตรากำไรของผู้ประกอบการ

 

          การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2565 ยังคงขยายตัวได้แต่ในอัตราที่ชะลอลง

          ภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2565 ขยายตัวที่ 7.1%YoY เทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัวถึง 20.4%YoY โดยมีสาเหตุจากตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุดคิดเป็น 29% ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมดหดตัว เนื่องจากทางการจีนใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เข้มงวด ซึ่งส่งผลให้สินค้าที่นำเข้าสู่จีนต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดจนเป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง อีกทั้งยังส่งผลให้การบริโภคในจีนชะลอตัวลงจากการกักตัวที่ยังคงมีอยู่

          โดยมูลค่าส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2565 หดตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2563 อยู่ที่ 3.0%YoY โดยตลาดจีนหดตัวถึง 22.6%YoY ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าที่หดตัวลง ได้แก่ มันสำปะหลัง และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว และไก่ ขณะที่ตลาดสหภาพยุโรปขยายตัวถึง 28.7%YoY จากความต้องการนำเข้าที่มีทิศทางฟื้นตัวหลังจากการทยอยเปิดประเทศ โดยเฉพาะ ไก่แปรรูป ที่ขยายตัวถึง 137.2%YoY

          ด้านหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวดีต่อเนื่องที่ 21.2%YoY โดยเฉพาะสินค้าส่งออกในกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง สินค้ากลุ่มน้ำตาลทรายที่ได้รับผลดีจากราคาส่งออกและปริมาณผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปยังคงขยายตัว โดยเฉพาะทูน่ากระป๋อง ที่ได้รับผลบวกจากความกังวลของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้หลายประเทศมีความต้องการกักตุนสินค้าเพื่อใช้ในการบริโภค รวมถึงฐานที่ต่ำในปีก่อน

 

11644 KT Compass t01

 

 

          สถานการณ์การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในกลุ่มสินค้าสำคัญ

 

          การส่งออกข้าวไตรมาส 3 ขยายตัวต่อเนื่อง จากเงินบาทที่ยังคงอ่อนค่า 

          มูลค่าการส่งออกข้าวไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ที่ 12.4%YoY โดยมูลค่าการส่งออกข้าวขาวโดยรวมยังคงขยายตัวถึง 51.0%YoY จากปัจจัยด้านปริมาณที่ขยายตัว 55.9%YoY เนื่องจากเงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้ราคาส่งออกข้าวขาวอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามและอินเดียได้มากขึ้น อีกทั้งมีการเร่งนำเข้าเพื่อกักตุน จากความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหาร หลังจากในช่วงที่ผ่านมาเกิดภัยธรรมชาติขึ้นในหลายประเทศและส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกจากการฟื้นความ สัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดิอาระเบีย ทำให้ไทยสามารถขยายตลาดสู่ตลาดตะวันออกกลางได้มากขึ้น โดยเฉพาะตลาดอิรัก อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกข้าวหอมมะลิกลับมาหดตัวที่ 4.2%YoY โดยปริมาณการส่งออกหดตัว 9.3%YoY ซึ่งเกิดจากการแข่งขันกับข้าวชนิดอื่นในตลาดส่งออกที่ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เช่น ข้าวพันธุ์พื้นนุ่มของเวียดนามที่มีราคาถูกและรสชาติดีใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

 

11644 KT Compass p01

 

          มูลค่าส่งออกยางพาราไตรมาส 3 ขยายตัวชะลอลง 

          มูลค่าส่งออกยางพาราแผ่นและยางแท่งไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ขยายตัวเพียง 0.2%YoY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนซึ่งขยายตัว 3.0%YoY ซึ่งเป็นผลจากราคาส่งออกที่ลดลง 5.4%YoY ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลก จากความกังวลในเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ส่วนปริมาณส่งออกยังขยายตัวได้ที่ 4.0% เพราะแม้ปริมาณส่งออกไปตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักคิดเป็น 26.6% ของการส่งออกยางแผ่นยางแท่งทั้งหมดของไทย ลดลง 33.8%YoY เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ในจีน แต่การส่งออกไปยังตลาดอื่นยังขยายตัวได้ เช่น ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัว 18.7%YoY ตลาดญี่ปุ่นขยายตัว 26.3%YoY ตลาดเกาหลีใต้ ขยายตัว 160.7 %YoY

          ส่วนมูลค่าส่งออกน้ำยางข้นเพิ่มขึ้น 1.9%YoY จากปัจจัยด้านปริมาณที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.3%YoY ตามตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 29.4%YoY เนื่องจากความต้องการใช้น้ำยางข้นเพื่อเป็นวัตถุดิบการผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น จากมาตรการที่เข้มงวดในการจัดการการแพร่ระบาด COVID-19 ในจีน ส่วนตลาดมาเลเซียซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 1 ของไทยและเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกถุงมือยางรายใหญ่ของโลก ไทยมีปริมาณส่งออกลดลง 12.1%YoY จากความต้องการใช้น้ำยางข้นเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตถุงมือยางเพื่อส่งออกที่ลดลง หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในหลายประเทศคลี่คลาย

 

11644 KT Compass p02

 

11644 KT Compass p03

 

          มูลค่าส่งออกมันสำปะหลังไตรมาส 3 หดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2563

          มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งหมดในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 อยู่ที่ 915 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว 4.7%YoY โดยแม้มูลค่าส่งออกแป้งมันสำปะหลังอยู่ที่ 687 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 8.1%YoY แต่มูลค่าส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ด อยู่ที่ 206 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวถึง 31.5%YoY ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่จีนซึ่งเป็นตลาดหลักเกือบทั้งหมดเร่งนำเข้าตั้งแต่ช่วงเดือนเม..-.. 2565 จากความกังวลสงครามรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อกว่าที่คาด ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวไทยส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดได้สูงถึง 0.9-1.0 ล้านตัน/เดือน สูงกว่าในช่วงปี 2562-2564 ที่ส่งออกได้เฉลี่ยประมาณ 0.3 แสนตัน/เดือน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาภาพรวมมูลค่าการส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ยังขยายตัว 19.6%YoY และคาดว่ามูลค่าส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดทั้งปี 2565 จะขยายตัว 15%-20%YoY

          เมื่อพิจารณาสต็อกข้าวโพดของจีน ซึ่งเป็นสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนมันเส้นและมันอัดเม็ดในการผลิตอาหารสัตว์และแอลกอฮอล์ คาดว่าในปี 2566-2567 สต็อกข้าวโพดจีนจะอยู่ที่ 204 และ 199 ล้านตัน ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าหรือใกล้เคียงค่าเฉลี่ยสต็อกข้าวโพดจีน 7 ปีย้อนหลังซึ่งอยู่ที่ 207 ล้านตัน ทำให้ในปี 2566-2567 ค่าเฉลี่ย ส่วนต่างราคาข้าวโพดในจีนเทียบกับราคาส่งออกมันเส้นจะยังอยู่ที่ 150-200 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับปี 2565 ทำให้ปริมาณส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดของไทยมีแนวโน้มจะยังขยายตัวได้

 

11644 KT Compass p04

 

          การส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งในไตรมาส 3 หดตัว ท่ามกลางมาตรการตรวจสอบสินค้าที่เข้มงวดมากขึ้น

          การส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งในไตรมาส 3 ของปี 2565 หดตัว 40.1%YoY จากการส่งออกไปตลาดหลักทั้งจีนและฮ่องกงที่หดตัว 40.9%YoY และ 59.6%YoY ตามลำดับ โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้สดหดตัวลงมาก จากปัญหาผลผลิตทุเรียนและมังคุดลดลงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ กอปรกับมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในจีนที่เข้มงวด ส่งผลกระทบต่อการตรวจสอบการส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งที่ขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ ทำให้ระยะเวลาในการขนส่งมากขึ้น อีกทั้งยังอาจทำให้ผลไม้บางส่วนเน่าเสียได้ ทั้งนี้ คาดว่าจีนจะยังคงใช้มาตรการ Zero-COVID ต่อไปจนถึงปี 2566 ทำให้ผู้ประกอบการผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งยังคงต้องติดตามการเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการตรวจสอบสินค้าและป้องกันเชื้อ COVID-19 ของจีน รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนด ซึ่งในช่วงแรกอาจทำให้ผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนการบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้น

 

11644 KT Compass p05

 

          การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปไตรมาส 3 ขยายตัวต่อเนื่องจากความต้องการในตลาดส่งออกหลักที่เพิ่มขึ้น

          ภาพรวมการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปในไตรมาส 3 ของปี 2565 ขยายตัวถึง 75.4%YoY โดยเฉพาะไก่แปรรูปขยายตัว 71.4%YoY จากตลาดส่งออกหลักอย่างญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปที่เพิ่มขึ้น 37.3%YoY และ 137.2%YoY ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีทิศทางฟื้นตัวจากการทยอยเปิดประเทศ ประกอบกับได้อานิสงส์จากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกไก่จากยูเครนเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับการส่งออกไก่แปรรูปของไทยไปญี่ปุ่นที่มีทิศทางฟื้นตัวขึ้น

          ส่วนการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งขยายตัว 84.1%YoY จากตลาดส่งออกไปจีนที่โตถึง 123.3%YoY โดยได้รับอานิสงส์จากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในจีน อีกทั้งยังได้รับผลดีจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในจีนและเวียดนาม ทำให้มีการนำเข้าไก่เนื้อเพื่อทดแทนสุกรมากขึ้น ประกอบกับความต้องการนำเข้าไก่ของจีนจะค่อยๆฟื้นตัว แม้จีนจะยังใช้นโยบาย Zero-COVID แต่คาดว่าจะผ่อนคลายความเข้มงวดของมาตรการ ทำให้ธุรกิจร้านอาหารกลับมาเปิดได้ตามปกติ

 

11644 KT Compass p06

 

          ทิศทางการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญในปี 2566-2567

          Krungthai COMPASS ประเมินว่า ในปี 2566-2567 ทิศทางการส่งออกสินค้าเกษตรจะยังขยายตัวได้แต่ในอัตราที่ชะลอลง โดยปัจจัยท้าทายที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด อาทิ ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย และต้นทุนดำเนินงานที่ยังอยู่ในระดับสูง

          ข้าว ในปี 2566-2567 ตลาดส่งออกข้าวยังคงฟื้นตัว โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 7.7 และ 8.0 ล้านตัน ตามลำดับหรือเพิ่มขึ้น 2.5%YoY และ 4.1%YoY ตามลำดับ (ปรับดีขึ้นกว่าการปรระเมินครั้งก่อนที่อยู่ที่ 7.2 และ 7.6 ล้านตัน จากค่าเงินบาทในปี 2566-2567 ที่จะอ่อนกว่าที่คาดไว้เดิม และสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ) แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต หากเทียบกับในช่วงปี 2557-2561 ที่เคยส่งออกได้เฉลี่ยนปีละ 9-10 ล้านตัน เนื่องจากยังคงต้องแข่งขันรุนแรงกับประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามและอินเดีย อีกทั้งคาดว่าผลผลิตข้าวของประเทศผู้ส่งออกสำคัญอย่าง ไทย เวียดนาม และอินเดีย มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ยิ่งทำให้การแข่งขันส่งออกข้าวในตลาดโลกรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ความต้องการสายพันธุ์ข้าวไทยเริ่มมีแนวโน้มลดลงจากการตีตลาดของข้าวพันธุ์พื้นนุ่มจากเวียดนามที่มีราคาถูกและรสชาติดี จึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ทำให้ผู้ซื้อสามารถต่อรองและกดราคาข้าวไทยลงได้อีก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อ Margin ของผู้ส่งออก

          ยางพารา ในปี 2566-2567 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะอยู่ที่ 1.42 และ 1.33 แสนล้านบาท ลดลง 5.0%YoY และ 6.0%YoY ตามลำดับ เป็นผลจากทั้งราคาส่งออกที่ลดลงและปริมาณส่งออกที่ขยายตัวในอัตราที่ลดลง โดยคาดว่าราคาส่งออกจะลดลง 7.0% และ 8.0% เนื่องจากผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ปริมาณส่งออกจะอยู่ที่ 2.28 ล้านตัน และ 2.32 ล้านตัน หรือขยายตัวเพียง 2.0%YoY และ 2.0%YoY ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้วัตถุดิบในอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีนอาจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจจีนที่เติบโตแผ่วลง

          ในปี 2566-2567 คาดว่ามูลค่าส่งออกน้ำยางข้นจะอยู่ที่ 5.10 และ 5.13 หมื่นล้านบาท หรือขยายตัวต่ำ 0.4%YoY และ 0.6%YoY ตามลำดับ ซึ่งมีปัจจัยกดดันจากราคาส่งออกที่ลดลง 7.0% และ 8.0% แม้ปริมาณส่งออกจะกลับมาขยายตัวได้ 8.0%YoY และ 9.0%YoY ตามลำดับ จากปัญหาอุปทานส่งเกินถุงมือยางโลกที่บรรเทาลง อีกทั้งความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางทางการแพทย์และเภสัชกรรม เช่น ท่อยางและสายสวนทางการแพทย์ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของอุตสาหกรรมการแพทย์ทั่วโลก

          ผลไม้สดแช่เย็น แช่งแข็ง ในปี 2566-2567 คาดว่ามูลค่าการส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งจะอยู่ที่ 2.4 และ 2.6 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 13.9%YoY และ 11.7%YoY ตามลำดับ โดยเฉพาะตลาดจีนยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากชาวจีนนิยมบริโภคผลไม้เมืองร้อนจากไทย กอปรกับความตกลงทางการค้าเสรี (FTA) กับจีน ทำให้ไทยได้รับยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง อีกทั้งคาดว่า ในระยะข้างหน้าการส่งออกผลไม้ของไทยจะได้รับประโยชน์จากการขนส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว ซึ่งสามารถลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่ง

          อย่างไรก็ดี การส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งไปจีนเผชิญปัจจัยท้ายทายจากคู่แข่งที่มากขึ้น ทั้งมาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ กอปรกับยังต้องติดตามการเพิ่มความเข้มงวดด้านมาตรฐานการส่งออกผลไม้ที่ต้องมีการขึ้นทะเบียนสวนและโรงงานผลิตให้ได้ตามมาตรฐาน GAP และ GMP รวมทั้งมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของศุลกากรจีนและสำนักงานตรวจสอบกักกันโรค (CIQ) อาทิ การเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการตรวจสอบสินค้าและป้องกันเชื้อ COVID-19 การกำหนดให้มีใบรับรองสุขอนามัยพืช การกำหนดปริมาณสารตกค้างขั้นสูงสุด การควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมถึงมาตรฐานรูปแบบฉลากที่แสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์และข้อกำหนดบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ กรณีที่จีนปลูกทุเรียนสำเร็จจะเป็นปัจจัยบั่นทองต่อการเติบโตของการส่งออกทุเรียนไทยตั้งแต่ปี 2567

          มันสำปะหลัง ในปี 2566-2567 ปริมาณส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดของไทยจะอยู่ 6.5 และ 6.7. ล้านตัน ขยายตัว 4% ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณส่งออกแป้งมันสำปะหลังจะอยู่ที่ 5.2 และ 5.5 ล้านตัน ตามลำดับ ขยายตัว 4% ต่อปี เนื่องจากสต็อกข้าวโพดจีน (สินค้าทดแทน) มีทิศทางลดลง ทำให้ราคาข้าวโพดจีนแพงกว่าราคาส่งออกมันสำปะหลังของไทยค่อนข้างมาก ส่งผลให้ผู้ผลิตจีนยังมีความต้งอการนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากไทย แต่ผู้ประกอบการยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว

          ในปี 2566-2567 ราคาเฉลี่ยมันเส้นและแป้งมันทั้งในประเทศและราคาส่งออกจะลดลงจากปี 2565 แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ตามทิศทางราคาข้าวโพดตลาดโลก อีกทั้งผลผลิตหัวมันสำปะหลังจะเพิ่มขึ้นเป็น 32.5 และ 33.2 ล้านตัน ตามลำดับ หลังราคาหัวมันสด ในปี 2566 ยังจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยราคาเฉลี่ยมันเส้นในประเทศและราคาส่งออกจะอยู่ที่ 7.3-8.0 บาท/กก. และ 240-250 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามลำดับ ขณะที่ราคาเฉลี่ยแป้งมันในประเทศและราคาส่งออกจะอยู่ที่ 14.4-14.9 บาท/กก. และ 440-480 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามลำดับ

          ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป ในปี 2566-2567 คาดว่าปริมาณส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปจะอยู่ที่ 1.01 และ 1.04 ล้านตัน หรือขยายตัว 3.1%YoY และ 3.0%YoY ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปยังคงขยายตัวได้เพราะได้อานิสงส์จากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อไปจีนถึงปีหน้า ส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกไก่จากยูเครนเข้าสู่งตลาดสหภาพยุโรปซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้าไก่จากยูเครนกว่า 20% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด เช่นเดียวกับการส่งออกไก่แปรรูปของไทยไปญี่ปุ่นที่มีทิศทางฟื้นตัวขึ้น สำหรับการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งแจะยังได้รับผลดีจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในจีน อีกทั้งยังได้รับผลดีจากการระบาดของโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร (AFS) ในจีนและเวียดนาม ทำให้มีการนำเข้าไก่เนื้อเพื่อทดแทนสุกรมากขึ้น นอกจากนี้ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งแของไทยยังมีโอกาสในการขยายการส่งออกไปยังซาอุฯ เนื่องจากซาอุฯ เป็นประเทศผู้นำเข้าไก่รายใหญ่อันดับ 6 ของโลก ประกอบกับภาครัฐของไทยมีการส่งเสริมการส่งออกสินค้าไก่ ซึ่งเป็นไก่ฮาลาล ไปยังซาอุฯ เพิ่มขึ้น หลังจากการยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตทั้ง 2 ประเทศ

 

Implication:

          Krungthai COMPASS มองว่า แม้ภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในปี 2566 จะขยายตัวได้ แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ดังนี้

          ความกังวลภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักสินค้าเกษตรไทย อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าเกษตรกลุ่มที่เคยเติบโตดีในปีที่ผ่านมาจะเริ่มขยายตัวชะลอลง เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสสำหรับผู้ประกอบการสินค้าเกษตรในกลุ่มอาหารแปรรูป อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์ยาง ในการขยายตลาดรองที่มีศักยภาพ เช่น ตลาดซาอุดิอาระเบียที่ได้รับผลดี จากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันตลาดโลก รวมทั้งภาครัฐได้เดินหน้าจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ (GCC) ได้แก่ ซาอุฯ บาห์เรน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และคูเวต

          มาตรการ Zero-COVID ของจีน ทำให้ทางการจีนเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการตรวจสอบสินค้าและป้องกันเชื้อ COVID-19 ซึ่งคาดว่าจีนจะยังคงใช้มาตรการ Zero-COVID ต่อไปจนถึงปี 2566 ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานผลิตผักและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทยต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานที่คู่ค้ากำหนด ซึ่งในช่วงแรกอาจทำให้ผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนการบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้น และหากปรับตัวได้ช้า ก็อาจเสียตลาดให้กับคู่แข่งอย่างมาเลเซีย และเวียดนาม อย่างไรก็ดีมาตรการดังกล่าวส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าในกลุ่มน้ำยางข้นและถุงมือยาง

          ต้นทุนวัตถุดิบ และราคาพลังงานที่แม้จะปรับตัวลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง จะกดดันอัตรากำไรของผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและอาหารที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าเป็นหลัก เช่น การผลิตปุ๋ยเคมี การผลิต ทูน่ากระป๋อง โดยเฉพาะรายกลางและรายย่อย ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนต่ำกว่ารายใหญ่ และเป็นกลุ่มที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากอยู่แล้ว

          แรงกดดันด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงาน ภาครัฐปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมีผล 1 ตุลาคม 2565 อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการสินค้าเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการทำประมง เช่น อาหารทะเลแปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง เป็นต้น ที่ในกระบวนการผลิตมีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ผู้ประกอบการที่มีเงินทุนหมุนเวียนต่ำอาจลดการจ้างงาน หรือทำให้ต้องหยุดการผลิต

          ยังต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ ภาคอีสาน ภาคกลาง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง ซึ่งแม้ในเบื้องต้นประเมินว่าอุทกภัยในปีนี้จะไม่รุนแรงเท่าในปี 2554 แต่หากสถานการณ์อุทกภัยขยายวงกว้างและรุนแรง ก็อาจสร้างความเสียหายต่อผลผลิตสินค้าเกษตรมากกว่าที่คาดไว้เดิม

 

A11644

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

ข่าวแนะนำประจำวัน

การเมือง

วันพฤหัสบดี, 03 กุมภาพันธ์ 2565 20:43

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าว Sanook News หลังจากพรรคก้าวไกล เปิดตัวนายวิโวจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลงสมัครผู้ว่า กทม.

Latest News JSON Slide

สรุปมูลค่าการซื้อขายตามกลุ่มนักลงทุน 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2565

สรุปมูลค่าการซื้อขายตามกลุ่มนักลงทุน 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 มูลค่าการซื้อขายตามกลุ่มนักลงทุน หน่วย : ล้านบาท วันที่ 15 พ.ย. 2565 นักลงทุน ซื้อ % ขาย % สุทธิ สถาบันในประเทศ 3,646.88 5.91 4,276.74 6.93 -629.86 บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 5,329.85 8.64 4,870.40 7.89 459.45 นักลงทุนต่างประเทศ 32,576.15 52.80 33,013.94 53.50 -437.79 นักลงทุนในประเทศ 20,149.66 32.66 19,541.46 31.67 608.20 หน่วย : ล้านบาท 01 พ.ย. 2565 - 15 พ.ย. 2565 01 ม.ค. 2565 - 15 พ.ย. 2565 นักลงทุน ซื้อ % ขาย % สุทธิ ซื้อ % ขาย % สุทธิ สถาบันในประเทศ 49,623.91 6.93 61,199.18 8.55 -11,575.27 1,154,566.72 7.46 1,306,294.27 8.44 -151,727.55 บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 59,692.44 8.34 63,750.03 8.91 -4,057.59 1,344,358.41 8.68 1,348,282.90 8.71 -3,924.50 นักลงทุนต่างประเทศ 373,039.50 52.13 351,678.79 49.14 21,360.71 7,475,592.48 48.28 7,295,347.08 47.12 180,245.40 นักลงทุนในประเทศ 233,255.01 32.60 238,982.86 33.40 -5,727.86 5,508,989.85 35.58 5,533,583.21 35.74 -24,593.36 หมายเหตุ ข้อมูลเพื่อการศึกษาหรือใช้งานส่วนบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อประกอบการซื้อขายหลักทรัพย์ More Articles https://www.set.or.th/th/market/statistics/investor-type?market=SET Click Donate Support Web

ผู้บริหารซื้อ-ขายหุ้น 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2565

ผู้บริหารซื้อ-ขายหุ้น 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ข้อมูลประจำวันที่ 15 พ.ย. 2565 เป็นข้อมูลที่สำนักงานบันทึกเข้าระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2565 และแสดงเฉพาะรายการที่เกิดขึ้นย้อนหลังไม่เกิน 1 เดือน ข้อมูลแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้บริหาร (แบบ 59) (จำนวนรายการที่พบ 25 รายการ) ชื่อบริษัท ชื่อผู้บริหาร ความสัมพันธ์ * ประเภท หลักทรัพย์ วันที่ได้มา/จำหน่าย จำนวน ราคา วิธีการ ได้มา/ จำหน่าย แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บมจ.(CCET) นาย เซิ่ง สง ซุย คู่สมรส/ผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา (นาง ซุย ไท่ ลี ซู) หุ้นสามัญ 14/11/2565 300,000 2.27 ซื้อ เจ.อาร์.ดับเบิ้ลยู.ยูทิลิตี้ จำกัด (มหาชน) บมจ.(JR) นาย จรัญ วิวัฒน์เจษฎาวุฒิ ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 112,000 6.45 ซื้อ เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) บมจ.(SAPPE) นาย อานุภาพ รักอริยะพงศ์ ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 10,000 37.75 ซื้อ ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) บมจ.(SIMAT) นาย บุญเลิศ เอี้ยวพรชัย ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 150,000 2.18 ซื้อ ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บมจ.(TFG) นาย วินัย เตียวสมบูรณ์กิจ ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 4,288,600 5.39 ซื้อ เธียรสุรัตน์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(TSR) นาย วัชรินทร์ วัชรธรรม ผู้รายงาน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 14/11/2565 200,000 0.66 ขาย เธียรสุรัตน์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(TSR) นาย วัชรินทร์ วัชรธรรม ผู้รายงาน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 14/11/2565 180,400 0.65 ขาย เธียรสุรัตน์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(TSR) นาย วัชรินทร์ วัชรธรรม ผู้รายงาน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 14/11/2565 200,000 0.64 ขาย เธียรสุรัตน์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(TSR) นาย วัชรินทร์ วัชรธรรม ผู้รายงาน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 14/11/2565 100,000 0.72 ขาย เธียรสุรัตน์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(TSR) นาย วัชรินทร์ วัชรธรรม ผู้รายงาน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 14/11/2565 100,000 0.66 ซื้อ เธียรสุรัตน์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(TSR) นาย วัชรินทร์ วัชรธรรม ผู้รายงาน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 14/11/2565 100,000 0.75 ขาย เธียรสุรัตน์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(TSR) นาย วัชรินทร์ วัชรธรรม ผู้รายงาน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 14/11/2565 200,000 0.79 ซื้อ เธียรสุรัตน์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(TSR) นาย วัชรินทร์ วัชรธรรม ผู้รายงาน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 14/11/2565 200,000 0.78 ซื้อ เธียรสุรัตน์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(TSR) นาย วัชรินทร์ วัชรธรรม ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 60,000 3.66 ซื้อ บ้านปู จำกัด (มหาชน) บมจ.(BANPU) นาย องอาจ เอื้ออภิญญกุล ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 1,600,000 12.60 ขาย ประกิต โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(PRAKIT) นาย อภิรักษ์ อภิสารธนรักษ์ ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 10,000 12.90 ซื้อ พรพรหมเม็ททอล จำกัด (มหาชน) บมจ.(PPM) นาง นันธิรา ฤทธิมนตรี ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 1,000 2.16 ซื้อ พีเอสจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บมจ.(PSG) นาย นพดล อินทรลิบ ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 500,000 1.37 ซื้อ แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บมจ.(MC) นางสาว สุณี เสรีภาณุ ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 11/11/2565 501,900 9.93 ซื้อ แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บมจ.(MC) นางสาว สุณี เสรีภาณุ ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 104,200 9.87 ซื้อ อินเตอร์เนชั่นแนล เน็ตเวิร์ค ซิสเต็ม จำกัด (มหาชน) บมจ.(ITNS) นาย ศรัณย์ สุภัคศรัณย์ ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 50,000 4.04 ซื้อ อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บมจ.(ILINK) นาย สมบัติ อนันตรัมพร ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 11/11/2565 1,000,000 7.49 ซื้อ อินฟราเซท จำกัด (มหาชน) บมจ.(INSET) นาย วิเชียร เจียกเจิม ผู้รายงาน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 14/11/2565 200,000 1.44 ซื้อ แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(ASW) นาย ปัญญา นันทกิจตระกูร ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 14/11/2565 350,000 7.72 ขาย โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(HMPRO) นาย มานิต อุดมคุณธรรม ผู้รายงาน หุ้นสามัญ 11/11/2565 2,000,000 14.85 ขาย *กรณีที่บริษัทมีผู้บริหารเป็นคู่สมรสกัน ถ้ามีการซื้อขายหลักทรัพย์ คู่สมรสทั้ง 2 คน จะมีหน้าที่ต้องรายงาน ซึ่งจะทำให้เกิดการแสดงรายการซ้ำซ้อนกัน เช่น นาย A และนาง B เป็นคู่สมรสกันและเป็นผู้บริหารของ บมจ.AB ทั้งคู่ ถ้านาย A ซื้อหุ้น AB 1 รายการ การแสดงข้อมูลจะเป็น 2 รายการดังนี้ รายการที่ 1 นาย A ผู้จัดทำ ซื้อหุ้น รายการที่ 2 นาง B คู่สมรส ซื้อหุ้น จึงขอให้ใช้ข้อมูลด้วยความระมัดระวัง More Articles สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ https://market.sec.or.th/public/idisc/th/r59 Click Donate Support Web

ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร Q3/2565 ขยายตัวชะลอลง คาดส่งออกในปี 2566 ยังคงขยายตัวได้ แต่เผชิญความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่อาจเข้าสู่สภาวะถดถอย

ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร Q3/2565 ขยายตัวชะลอลง คาดส่งออกในปี 2566 ยังคงขยายตัวได้ แต่เผชิญความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่อาจเข้าสู่สภาวะถดถอย โดย สุคนธ์ทิพย์ ชัยสายัณห์, กฤชนนท์ จินดาวงศ์, ปราโมทย์ วัฒนานุสาร, อังคณา สิทธิการ Krungthai COMPASS Key Highlights • มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทยในไตรมาส 3 อยู่ที่ 12,211 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเป็น 7.1%YoY โดยสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ไก่ น้ำตาลทราย และอาหารสัตว์เลี้ยง ส่วนสินค้าที่ส่งออกหดตัว ได้แก่ มันสำปะหลัง ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง • แม้การส่งออกจะได้รับปัจจัยหนุนจากเงินบาทอ่อนค่า และผลจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ ทำให้คู่ค้าเร่งนำเข้าสินค้าในกลุ่มอาหาร แต่ตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักได้รับผลกระทบจากมาตรการ Zero-COVID ทำให้การส่งออกไตรมาส 3 ขยายตัวในอัตราที่ลดลง • Krungthai COMPASS มองว่า ในปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทยจะยังสามารถขยายตัวได้ แต่มีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นตลาดหลักสินค้าเกษตรไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าเกษตรกลุ่มที่เคยเติบโตดีในปีที่ผ่านมาจะเริ่มขยายตัวชะลอลง เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง อีกทั้งต้นทุนราคาวัตถุดิบและราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูงจะกดดันอัตรากำไรของผู้ประกอบการ การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2565 ยังคงขยายตัวได้แต่ในอัตราที่ชะลอลง ภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2565 ขยายตัวที่ 7.1%YoY เทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัวถึง 20.4%YoY โดยมีสาเหตุจากตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุดคิดเป็น 29% ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมดหดตัว เนื่องจากทางการจีนใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เข้มงวด ซึ่งส่งผลให้สินค้าที่นำเข้าสู่จีนต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดจนเป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง อีกทั้งยังส่งผลให้การบริโภคในจีนชะลอตัวลงจากการกักตัวที่ยังคงมีอยู่ โดยมูลค่าส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2565 หดตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2563 อยู่ที่ 3.0%YoY โดยตลาดจีนหดตัวถึง 22.6%YoY ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าที่หดตัวลง ได้แก่ มันสำปะหลัง และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว และไก่ ขณะที่ตลาดสหภาพยุโรปขยายตัวถึง 28.7%YoY จากความต้องการนำเข้าที่มีทิศทางฟื้นตัวหลังจากการทยอยเปิดประเทศ โดยเฉพาะ ไก่แปรรูป ที่ขยายตัวถึง 137.2%YoY ด้านหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวดีต่อเนื่องที่ 21.2%YoY โดยเฉพาะสินค้าส่งออกในกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง สินค้ากลุ่มน้ำตาลทรายที่ได้รับผลดีจากราคาส่งออกและปริมาณผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปยังคงขยายตัว โดยเฉพาะทูน่ากระป๋อง ที่ได้รับผลบวกจากความกังวลของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้หลายประเทศมีความต้องการกักตุนสินค้าเพื่อใช้ในการบริโภค รวมถึงฐานที่ต่ำในปีก่อน สถานการณ์การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในกลุ่มสินค้าสำคัญ การส่งออกข้าวไตรมาส 3 ขยายตัวต่อเนื่อง จากเงินบาทที่ยังคงอ่อนค่า มูลค่าการส่งออกข้าวไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ที่ 12.4%YoY โดยมูลค่าการส่งออกข้าวขาวโดยรวมยังคงขยายตัวถึง 51.0%YoY จากปัจจัยด้านปริมาณที่ขยายตัว 55.9%YoY เนื่องจากเงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้ราคาส่งออกข้าวขาวอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามและอินเดียได้มากขึ้น อีกทั้งมีการเร่งนำเข้าเพื่อกักตุน จากความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหาร หลังจากในช่วงที่ผ่านมาเกิดภัยธรรมชาติขึ้นในหลายประเทศและส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกจากการฟื้นความ สัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดิอาระเบีย ทำให้ไทยสามารถขยายตลาดสู่ตลาดตะวันออกกลางได้มากขึ้น โดยเฉพาะตลาดอิรัก อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกข้าวหอมมะลิกลับมาหดตัวที่ 4.2%YoY โดยปริมาณการส่งออกหดตัว 9.3%YoY ซึ่งเกิดจากการแข่งขันกับข้าวชนิดอื่นในตลาดส่งออกที่ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เช่น ข้าวพันธุ์พื้นนุ่มของเวียดนามที่มีราคาถูกและรสชาติดีใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น มูลค่าส่งออกยางพาราไตรมาส 3 ขยายตัวชะลอลง มูลค่าส่งออกยางพาราแผ่นและยางแท่งไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ขยายตัวเพียง 0.2%YoY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนซึ่งขยายตัว 3.0%YoY ซึ่งเป็นผลจากราคาส่งออกที่ลดลง 5.4%YoY ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลก จากความกังวลในเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ส่วนปริมาณส่งออกยังขยายตัวได้ที่ 4.0% เพราะแม้ปริมาณส่งออกไปตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักคิดเป็น 26.6% ของการส่งออกยางแผ่นยางแท่งทั้งหมดของไทย ลดลง 33.8%YoY เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ในจีน แต่การส่งออกไปยังตลาดอื่นยังขยายตัวได้ เช่น ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัว 18.7%YoY ตลาดญี่ปุ่นขยายตัว 26.3%YoY ตลาดเกาหลีใต้ ขยายตัว 160.7 %YoY ส่วนมูลค่าส่งออกน้ำยางข้นเพิ่มขึ้น 1.9%YoY จากปัจจัยด้านปริมาณที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.3%YoY ตามตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 29.4%YoY เนื่องจากความต้องการใช้น้ำยางข้นเพื่อเป็นวัตถุดิบการผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น จากมาตรการที่เข้มงวดในการจัดการการแพร่ระบาด COVID-19 ในจีน ส่วนตลาดมาเลเซียซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 1 ของไทยและเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกถุงมือยางรายใหญ่ของโลก ไทยมีปริมาณส่งออกลดลง 12.1%YoY จากความต้องการใช้น้ำยางข้นเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตถุงมือยางเพื่อส่งออกที่ลดลง หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในหลายประเทศคลี่คลาย มูลค่าส่งออกมันสำปะหลังไตรมาส 3 หดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2563 มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งหมดในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 อยู่ที่ 915 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว 4.7%YoY โดยแม้มูลค่าส่งออกแป้งมันสำปะหลังอยู่ที่ 687 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 8.1%YoY แต่มูลค่าส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ด อยู่ที่ 206 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวถึง 31.5%YoY ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่จีนซึ่งเป็นตลาดหลักเกือบทั้งหมดเร่งนำเข้าตั้งแต่ช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. 2565 จากความกังวลสงครามรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อกว่าที่คาด ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวไทยส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดได้สูงถึง 0.9-1.0 ล้านตัน/เดือน สูงกว่าในช่วงปี 2562-2564 ที่ส่งออกได้เฉลี่ยประมาณ 0.3 แสนตัน/เดือน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาภาพรวมมูลค่าการส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ยังขยายตัว 19.6%YoY และคาดว่ามูลค่าส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดทั้งปี 2565 จะขยายตัว 15%-20%YoY เมื่อพิจารณาสต็อกข้าวโพดของจีน ซึ่งเป็นสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนมันเส้นและมันอัดเม็ดในการผลิตอาหารสัตว์และแอลกอฮอล์ คาดว่าในปี 2566-2567 สต็อกข้าวโพดจีนจะอยู่ที่ 204 และ 199 ล้านตัน ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าหรือใกล้เคียงค่าเฉลี่ยสต็อกข้าวโพดจีน 7 ปีย้อนหลังซึ่งอยู่ที่ 207 ล้านตัน ทำให้ในปี 2566-2567 ค่าเฉลี่ย ส่วนต่างราคาข้าวโพดในจีนเทียบกับราคาส่งออกมันเส้นจะยังอยู่ที่ 150-200 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับปี 2565 ทำให้ปริมาณส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดของไทยมีแนวโน้มจะยังขยายตัวได้ การส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งในไตรมาส 3 หดตัว ท่ามกลางมาตรการตรวจสอบสินค้าที่เข้มงวดมากขึ้น การส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งในไตรมาส 3 ของปี 2565 หดตัว 40.1%YoY จากการส่งออกไปตลาดหลักทั้งจีนและฮ่องกงที่หดตัว 40.9%YoY และ 59.6%YoY ตามลำดับ โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้สดหดตัวลงมาก จากปัญหาผลผลิตทุเรียนและมังคุดลดลงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ กอปรกับมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในจีนที่เข้มงวด ส่งผลกระทบต่อการตรวจสอบการส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งที่ขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ ทำให้ระยะเวลาในการขนส่งมากขึ้น อีกทั้งยังอาจทำให้ผลไม้บางส่วนเน่าเสียได้ ทั้งนี้ คาดว่าจีนจะยังคงใช้มาตรการ Zero-COVID ต่อไปจนถึงปี 2566 ทำให้ผู้ประกอบการผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งยังคงต้องติดตามการเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการตรวจสอบสินค้าและป้องกันเชื้อ COVID-19 ของจีน รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนด ซึ่งในช่วงแรกอาจทำให้ผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนการบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้น การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปไตรมาส 3 ขยายตัวต่อเนื่องจากความต้องการในตลาดส่งออกหลักที่เพิ่มขึ้น ภาพรวมการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปในไตรมาส 3 ของปี 2565 ขยายตัวถึง 75.4%YoY โดยเฉพาะไก่แปรรูปขยายตัว 71.4%YoY จากตลาดส่งออกหลักอย่างญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปที่เพิ่มขึ้น 37.3%YoY และ 137.2%YoY ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีทิศทางฟื้นตัวจากการทยอยเปิดประเทศ ประกอบกับได้อานิสงส์จากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกไก่จากยูเครนเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับการส่งออกไก่แปรรูปของไทยไปญี่ปุ่นที่มีทิศทางฟื้นตัวขึ้น ส่วนการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งขยายตัว 84.1%YoY จากตลาดส่งออกไปจีนที่โตถึง 123.3%YoY โดยได้รับอานิสงส์จากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในจีน อีกทั้งยังได้รับผลดีจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในจีนและเวียดนาม ทำให้มีการนำเข้าไก่เนื้อเพื่อทดแทนสุกรมากขึ้น ประกอบกับความต้องการนำเข้าไก่ของจีนจะค่อยๆฟื้นตัว แม้จีนจะยังใช้นโยบาย Zero-COVID แต่คาดว่าจะผ่อนคลายความเข้มงวดของมาตรการ ทำให้ธุรกิจร้านอาหารกลับมาเปิดได้ตามปกติ ทิศทางการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญในปี 2566-2567 Krungthai COMPASS ประเมินว่า ในปี 2566-2567 ทิศทางการส่งออกสินค้าเกษตรจะยังขยายตัวได้แต่ในอัตราที่ชะลอลง โดยปัจจัยท้าทายที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด อาทิ ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย และต้นทุนดำเนินงานที่ยังอยู่ในระดับสูง • ข้าว ในปี 2566-2567 ตลาดส่งออกข้าวยังคงฟื้นตัว โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 7.7 และ 8.0 ล้านตัน ตามลำดับหรือเพิ่มขึ้น 2.5%YoY และ 4.1%YoY ตามลำดับ (ปรับดีขึ้นกว่าการปรระเมินครั้งก่อนที่อยู่ที่ 7.2 และ 7.6 ล้านตัน จากค่าเงินบาทในปี 2566-2567 ที่จะอ่อนกว่าที่คาดไว้เดิม และสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ) แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต หากเทียบกับในช่วงปี 2557-2561 ที่เคยส่งออกได้เฉลี่ยนปีละ 9-10 ล้านตัน เนื่องจากยังคงต้องแข่งขันรุนแรงกับประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามและอินเดีย อีกทั้งคาดว่าผลผลิตข้าวของประเทศผู้ส่งออกสำคัญอย่าง ไทย เวียดนาม และอินเดีย มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ยิ่งทำให้การแข่งขันส่งออกข้าวในตลาดโลกรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ความต้องการสายพันธุ์ข้าวไทยเริ่มมีแนวโน้มลดลงจากการตีตลาดของข้าวพันธุ์พื้นนุ่มจากเวียดนามที่มีราคาถูกและรสชาติดี จึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ทำให้ผู้ซื้อสามารถต่อรองและกดราคาข้าวไทยลงได้อีก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อ Margin ของผู้ส่งออก • ยางพารา ในปี 2566-2567 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะอยู่ที่ 1.42 และ 1.33 แสนล้านบาท ลดลง 5.0%YoY และ 6.0%YoY ตามลำดับ เป็นผลจากทั้งราคาส่งออกที่ลดลงและปริมาณส่งออกที่ขยายตัวในอัตราที่ลดลง โดยคาดว่าราคาส่งออกจะลดลง 7.0% และ 8.0% เนื่องจากผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ปริมาณส่งออกจะอยู่ที่ 2.28 ล้านตัน และ 2.32 ล้านตัน หรือขยายตัวเพียง 2.0%YoY และ 2.0%YoY ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้วัตถุดิบในอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีนอาจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจจีนที่เติบโตแผ่วลง ในปี 2566-2567 คาดว่ามูลค่าส่งออกน้ำยางข้นจะอยู่ที่ 5.10 และ 5.13 หมื่นล้านบาท หรือขยายตัวต่ำ 0.4%YoY และ 0.6%YoY ตามลำดับ ซึ่งมีปัจจัยกดดันจากราคาส่งออกที่ลดลง 7.0% และ 8.0% แม้ปริมาณส่งออกจะกลับมาขยายตัวได้ 8.0%YoY และ 9.0%YoY ตามลำดับ จากปัญหาอุปทานส่งเกินถุงมือยางโลกที่บรรเทาลง อีกทั้งความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางทางการแพทย์และเภสัชกรรม เช่น ท่อยางและสายสวนทางการแพทย์ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของอุตสาหกรรมการแพทย์ทั่วโลก • ผลไม้สดแช่เย็น แช่งแข็ง ในปี 2566-2567 คาดว่ามูลค่าการส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งจะอยู่ที่ 2.4 และ 2.6 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 13.9%YoY และ 11.7%YoY ตามลำดับ โดยเฉพาะตลาดจีนยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากชาวจีนนิยมบริโภคผลไม้เมืองร้อนจากไทย กอปรกับความตกลงทางการค้าเสรี (FTA) กับจีน ทำให้ไทยได้รับยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง อีกทั้งคาดว่า ในระยะข้างหน้าการส่งออกผลไม้ของไทยจะได้รับประโยชน์จากการขนส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว ซึ่งสามารถลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่ง อย่างไรก็ดี การส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งไปจีนเผชิญปัจจัยท้ายทายจากคู่แข่งที่มากขึ้น ทั้งมาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ กอปรกับยังต้องติดตามการเพิ่มความเข้มงวดด้านมาตรฐานการส่งออกผลไม้ที่ต้องมีการขึ้นทะเบียนสวนและโรงงานผลิตให้ได้ตามมาตรฐาน GAP และ GMP รวมทั้งมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของศุลกากรจีนและสำนักงานตรวจสอบกักกันโรค (CIQ) อาทิ การเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการตรวจสอบสินค้าและป้องกันเชื้อ COVID-19 การกำหนดให้มีใบรับรองสุขอนามัยพืช การกำหนดปริมาณสารตกค้างขั้นสูงสุด การควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมถึงมาตรฐานรูปแบบฉลากที่แสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์และข้อกำหนดบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ กรณีที่จีนปลูกทุเรียนสำเร็จจะเป็นปัจจัยบั่นทองต่อการเติบโตของการส่งออกทุเรียนไทยตั้งแต่ปี 2567 • มันสำปะหลัง ในปี 2566-2567 ปริมาณส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดของไทยจะอยู่ 6.5 และ 6.7. ล้านตัน ขยายตัว 4% ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณส่งออกแป้งมันสำปะหลังจะอยู่ที่ 5.2 และ 5.5 ล้านตัน ตามลำดับ ขยายตัว 4% ต่อปี เนื่องจากสต็อกข้าวโพดจีน (สินค้าทดแทน) มีทิศทางลดลง ทำให้ราคาข้าวโพดจีนแพงกว่าราคาส่งออกมันสำปะหลังของไทยค่อนข้างมาก ส่งผลให้ผู้ผลิตจีนยังมีความต้งอการนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากไทย แต่ผู้ประกอบการยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ในปี 2566-2567 ราคาเฉลี่ยมันเส้นและแป้งมันทั้งในประเทศและราคาส่งออกจะลดลงจากปี 2565 แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ตามทิศทางราคาข้าวโพดตลาดโลก อีกทั้งผลผลิตหัวมันสำปะหลังจะเพิ่มขึ้นเป็น 32.5 และ 33.2 ล้านตัน ตามลำดับ หลังราคาหัวมันสด ในปี 2566 ยังจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยราคาเฉลี่ยมันเส้นในประเทศและราคาส่งออกจะอยู่ที่ 7.3-8.0 บาท/กก. และ 240-250 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามลำดับ ขณะที่ราคาเฉลี่ยแป้งมันในประเทศและราคาส่งออกจะอยู่ที่ 14.4-14.9 บาท/กก. และ 440-480 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามลำดับ • ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป ในปี 2566-2567 คาดว่าปริมาณส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปจะอยู่ที่ 1.01 และ 1.04 ล้านตัน หรือขยายตัว 3.1%YoY และ 3.0%YoY ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปยังคงขยายตัวได้เพราะได้อานิสงส์จากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อไปจีนถึงปีหน้า ส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกไก่จากยูเครนเข้าสู่งตลาดสหภาพยุโรปซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้าไก่จากยูเครนกว่า 20% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด เช่นเดียวกับการส่งออกไก่แปรรูปของไทยไปญี่ปุ่นที่มีทิศทางฟื้นตัวขึ้น สำหรับการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งแจะยังได้รับผลดีจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในจีน อีกทั้งยังได้รับผลดีจากการระบาดของโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร (AFS) ในจีนและเวียดนาม ทำให้มีการนำเข้าไก่เนื้อเพื่อทดแทนสุกรมากขึ้น นอกจากนี้ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งแของไทยยังมีโอกาสในการขยายการส่งออกไปยังซาอุฯ เนื่องจากซาอุฯ เป็นประเทศผู้นำเข้าไก่รายใหญ่อันดับ 6 ของโลก ประกอบกับภาครัฐของไทยมีการส่งเสริมการส่งออกสินค้าไก่ ซึ่งเป็นไก่ฮาลาล ไปยังซาอุฯ เพิ่มขึ้น หลังจากการยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตทั้ง 2 ประเทศ Implication: Krungthai COMPASS มองว่า แม้ภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในปี 2566 จะขยายตัวได้ แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ดังนี้ • ความกังวลภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักสินค้าเกษตรไทย อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าเกษตรกลุ่มที่เคยเติบโตดีในปีที่ผ่านมาจะเริ่มขยายตัวชะลอลง เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสสำหรับผู้ประกอบการสินค้าเกษตรในกลุ่มอาหารแปรรูป อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์ยาง ในการขยายตลาดรองที่มีศักยภาพ เช่น ตลาดซาอุดิอาระเบียที่ได้รับผลดี จากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันตลาดโลก รวมทั้งภาครัฐได้เดินหน้าจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ (GCC) ได้แก่ ซาอุฯ บาห์เรน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และคูเวต • มาตรการ Zero-COVID ของจีน ทำให้ทางการจีนเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการตรวจสอบสินค้าและป้องกันเชื้อ COVID-19 ซึ่งคาดว่าจีนจะยังคงใช้มาตรการ Zero-COVID ต่อไปจนถึงปี 2566 ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานผลิตผักและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทยต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานที่คู่ค้ากำหนด ซึ่งในช่วงแรกอาจทำให้ผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนการบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้น และหากปรับตัวได้ช้า ก็อาจเสียตลาดให้กับคู่แข่งอย่างมาเลเซีย และเวียดนาม อย่างไรก็ดีมาตรการดังกล่าวส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าในกลุ่มน้ำยางข้นและถุงมือยาง • ต้นทุนวัตถุดิบ และราคาพลังงานที่แม้จะปรับตัวลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง จะกดดันอัตรากำไรของผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและอาหารที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าเป็นหลัก เช่น การผลิตปุ๋ยเคมี การผลิต ทูน่ากระป๋อง โดยเฉพาะรายกลางและรายย่อย ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนต่ำกว่ารายใหญ่ และเป็นกลุ่มที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากอยู่แล้ว • แรงกดดันด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงาน ภาครัฐปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมีผล 1 ตุลาคม 2565 อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการสินค้าเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการทำประมง เช่น อาหารทะเลแปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง เป็นต้น ที่ในกระบวนการผลิตมีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ผู้ประกอบการที่มีเงินทุนหมุนเวียนต่ำอาจลดการจ้างงาน หรือทำให้ต้องหยุดการผลิต ยังต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ ภาคอีสาน ภาคกลาง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง ซึ่งแม้ในเบื้องต้นประเมินว่าอุทกภัยในปีนี้จะไม่รุนแรงเท่าในปี 2554 แต่หากสถานการณ์อุทกภัยขยายวงกว้างและรุนแรง ก็อาจสร้างความเสียหายต่อผลผลิตสินค้าเกษตรมากกว่าที่คาดไว้เดิม A11644 Click Donate Support Web

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การสนับสนุนการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) ปี 2022 กับ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การสนับสนุนการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) ปี 2022 กับ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่าเมื่อวันที่14 พ.ย. 2565การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การสนับสนุนการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) ปี 2022 ระหว่างสำนักงาน กสทช. กับ กกท. ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ได้สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ในการซื้อลิขสิทธิ์จำนวน 600 ล้านบาท เพื่อให้ กกท. นำไปใช้ซื้อลิขสิทธิ์การแข่งขันดังกล่าว โดยการสนับสนุนการซื้อลิขสิทธิ์ในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและคนด้อยโอกาส สามารถเข้าถึงและรับชมการแข่งขันฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) ปี 2022 ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและโอกาสในการได้สิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขัน โดยออกอากาศผ่านกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ทุกประเภทที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงาน กสทช. ที่ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ สำหรับ กกท. สามารถสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสรับชมการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในการพัฒนาศักยภาพทางด้านกีฬา นายไตรรัตน์ กล่าวว่า หลังจากที่ประชุม กสทช. มีมติสนับสนุนการซื้อลิขสิทธิ์ กกท. มีหน้าที่ต้องจัดหางบประมาณส่วนที่ขาดเพื่อให้ครอบคลุมการซื้อลิขสิทธิ์ทั้งหมด และลงนามในสัญญาการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) ปี 2022 กับสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ให้แล้วเสร็จ เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนการซื้อลิขสิทธิ์ดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดตามข้อตกลงความร่วมมือระบุให้ กกท. ดำเนินการร่วมกับกองทัพบกและโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ทั้งนี้ การสนับสนุนการซื้อลิขสิทธิ์ และการดำเนินงานของทั้งสองหน่วยงาน รวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมทุนการซื้อลิขสิทธิ์ เพื่อเป็นการสนับสนุนการรับชมรายการกีฬาที่สำคัญ เพื่อประโยชน์สาธารณะ และสร้างแรงจูงใจบันดาลใจให้กับเยาวชนและประชาชนหันมาสนใจกีฬาและใส่ใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น “สำนักงาน กสทช. หวังว่าการสนับสนุนการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) ปี 2022 ตามมติที่ประชุม กสทช. ครั้งนี้ นอกจากจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนและคนด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงการรับชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาสำคัญในระดับโลกโดยทั่วถึงและเท่าเทียมแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนให้มีการรับชมเนื้อหารายการที่ถูกลิขสิทธิ์ และกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านงบประมาณสนับสนุนให้มีการจับจ่าย หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น” นายไตรรัตน์ กล่าว A11655 Click Donate Support Web

ธ.ก.ส. เปิดรับฝาก ‘สลากดิจิทัล ธ.ก.ส.’ ฝากง่ายแถมลุ้นรางวัลใหญ่ 5 ล้านบาท

ธ.ก.ส. เปิดรับฝาก ‘สลากดิจิทัล ธ.ก.ส.’ ฝากง่ายแถมลุ้นรางวัลใหญ่ 5 ล้านบาท ธ.ก.ส. เปิดรับฝาก “สลากดิจิทัล ธ.ก.ส.” ผ่านแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus หน่วยละ 50 บาท วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ฝากครบ 2 ปี ได้รับดอกเบี้ยหน่วยละ 0.07 บาท พร้อมลุ้นรางวัลที่ 1 สูงสุด 5 ล้านบาท รางวัลพิเศษ ปีละ 2 ครั้ง เป็นเงินรางวัล 2 ล้านบาท และรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 16 ล้านบาทต่อเดือน โดยยกเว้นภาษีดอกเบี้ยสำหรับบุคคลธรรมดา เปิดรับฝาก ตั้งแต่ 17 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. เปิดรับฝาก “สลากดิจิทัล ธ.ก.ส.” ผ่านแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus เพื่อสนับสนุนการออมเงินและอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์เงินฝากและสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. แก่ลูกค้าและประชาชนทั่วไป ในราคาหน่วยละ 50 บาท วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท พร้อมรับสิทธิ์ลุ้นเงินรางวัลมากมาย สูงสุด 5 ล้านบาท โดยสลากดิจิทัล ธ.ก.ส. เป็นสลากชนิดไร้ตราสาร มีอายุรับฝาก 2 ปี เมื่อฝากครบกำหนดไถ่ถอนจะได้รับดอกเบี้ยหน่วยละ 0.07 บาท หรือคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.07 ต่อปี นอกจากนี้ยังได้ลุ้นรางวัลทุกวันที่ 16 ของเดือน และวันที่ 17 มกราคมของทุกปี รวม 24 ครั้ง ประกอบด้วย รางวัลที่ 1 มี 1 รางวัล มูลค่า 5,000,000 บาท รางวัลที่ 1 ต่างหมวด มี 59 รางวัล รางวัลละ 3,000 บาท รางวัลที่ 2 มี 180 รางวัล รางวัลละ 2,000 บาท รางวัลที่ 3 มี 600 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท รางวัลที่ 4 มี 1,200 รางวัล รางวัลละ 400 บาท รางวัลที่ 5 มี 6,000 รางวัล รางวัลละ 300 บาท รางวัลเลขท้าย 4 ตัว มี 60,000 รางวัล รางวัลละ 25 บาท รางวัลเลขท้าย 3 ตัว มี 600,000 รางวัล รางวัลละ 10 บาท และรางวัลพิเศษปีละ 2 ครั้ง ในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนธันวาคม 2566 ครั้งละ 2 รางวัล รางวัลละ 500,000 บาท รวมรางวัลสูงสุดทั้งสิ้น 668,042 รางวัล เป็นเงินรางวัลรวมสูงสุด 16,917,000 บาทต่อเดือน ออกรางวัลครั้งแรกวันที่ 16 ธันวาคม 2565 โดยผู้ฝากต้องฝากสลากภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน เพื่อรับสิทธิ์ตรวจรางวัลในเดือนนั้นๆ และกรณีฝากไม่ครบ 3 เดือน คิดค่าธรรมเนียมในการถอนเงินจากมูลค่าสลาก 2 บาทต่อหน่วย (ต้นเงินคงเหลือ 48 บาทต่อหน่วย) ที่สำคัญดอกเบี้ยและเงินรางวัลจากการฝากสลากดิจิทัล ธ.ก.ส. จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาไม่เสียภาษีดอกเบี้ย และสามารถใช้เป็นหลักประกันในการกู้เงินกับ ธ.ก.ส. บนแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus ได้อีกด้วย ทั้งนี้ ลูกค้าจะได้รับ e-Slip ไว้เป็นหลักฐานในการฝากสลากบันทึกไว้ในอัลบั้มภาพในโทรศัพท์เคลื่อนที่อัตโนมัติ โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลหมายเลขสลาก รายการธุรกรรมและประวัติการถูกรางวัลได้ง่ายๆ ผ่าน แอปพลิเคชัน A-Mobile Plus และสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการออกสลากดิจิทัล ธ.ก.ส. ได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย คลื่นความถี่ AM 891 กิโลเฮิรตซ์ เว็บไซต์ www.baac.or.th Facebook Page “BAAC Thailand” Youtube Channel “BAAC Thailand” หรือตรวจผลรางวัลทาง A-Mobile Plus โดยท่านที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสลากดิจิทัล ธ.ก.ส. ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่ Call Center 02 555 0555 A11643 Click Donate Support Web

ข่าวเด่นทั้งหมด


MD Content Slider

บริษัทจดทะเบียน

ธนาคาร

การเงิน การคลัง

แบงก์ชาติ

รวมลิงค์เครือข่าย Corehoon Online

  1. กลุ่มข่าวเกษตร
  2. กลุ่มข่าวท้องถิ่น
  3. กลุ่มข่าว 3
  4. กลุ่มข่าว 4
  5. กลุ่มข่าว 5
  6. กลุ่มข่าว 6
  • www.kasetpress.com สำนักข่าวเกษตร : ข้อมูลธุรกิจ การค้า การลงทุน
  • www.kasetpatiwat.com เกษตรปฎิวัติ พัฒนาท้องถิ่นไทย : ปฎิวัติภูมิปัญญาพัฒนาท้องถิ่นไทย
  • www.kasetchowban.com เกษตรชาวบ้าน พัฒนาท้องถิ่นไทย : พัฒนาภูมิปัญญา พัฒนาท้องถิ่นไทย
  • www.kasetpatana.com เกษตรพัฒนา ภูมิปัญญาพัฒนาท้องถิ่นไทย : ภูมิปัญญาพัฒนาท้องถิ่นไทย
  • www.kasetgreen.com เกษตรสีเขียว พัฒนาการกินอยู่ชาวไทย : พัฒนาการกินอยู่ชาวไทย
  • www.thaiagrinews.com
  • www.kasetkaoklai.com  เว็บไซต์ข่าวเกษตรเพื่อพัฒนาประเทศ โดยลุงพร-พรศักดิ์ พงศาปาน
  • www.orbotoonline.com อบต.ออนไลน์ : พัฒนาท้องถิ่นก้าวไกล
  • www.orbojoonline.com อบจ.ออนไลน์
  • www.tongtinonline.com ท้องถิ่นออนไลน์: พัฒนาภูมิปัญญาทั่วไทย
  • www.choomchononline.com ชุมชน ออนไลน์ : พัฒนาท้องถิ่นกว้างไกล
  • www.krungtheppost.com กรุงเทพ โพสต์ : ชาติก้าวหน้า พัฒนาก้าวไกล
  • www.newsdataonline.com News Data Online 2014 : ฐานข้อมูล คู่มือ คู่คิด พิชิตหุ้น 
  • www.stateenterprisenews.com สื่อรัฐวิสาหกิจ นิวส์ : พัฒนาวิสาหกิจ ก้าวหน้ากว้างไกล
  • www.stateenterpriseonline.com สื่อรัฐวิสาหกิจ ออนไลน์ : พัฒนาวิสาหกิจ ก้าวหน้ากว้างไกล
  • www.openthoughtonline.com เปิดสมองรับเรื่องราวรอบโลก : ทุกสรรพสิ่งน่าศึกษาเรียนรู้
  • www.english-rose.net  English-Rose
  • www.prachapijan.com
  • www.thaidailymirror.com  เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  • www.karnmuangthai.com การเมืองไทย : เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์  
  • www.allcartoday.com ALL CAR Today : รอบรู้เรื่องยานยนต์
  • www.workingagetoday.com คนวัยทำงาน วันนี้ : ชีวิตต้องสู้ ไม่สู้ก็อดนะครับ
  • www.wealthythai.com คนไทยมั่งคั่ง : ร่ำรวยอย่างชาญฉลาด.
  • www.work2travelonline.com  ทำงานด้วยการท่องเที่ยว : ชีวิต คือการเดินทาง สนุกสนานกับการท่องเที่ยว
  • www.thaibusinessmaster.com ต้นแบบธุกิจ : ข้อมูล ต้นแบบการค้า การลงทุน.
  •  www.tcjapress.com สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน  
  • www.chaisamorapum.com ชัยสมรภูมิ : เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  • www.chairmantoday.com ข้อมูลการค้า การลงทุน แบบมืออาชีพ
  • www.corehoononline.com คอหุ้นออนไลน์ : คู่มือ คู่คิด พิชิตหุ้น
  • www.powertimetoday.com เพาเวอร์ ไทม์ ทูเดย์ : ข้อมูลธุรกิจการลงทุน
  • www.powertimeonline.com  เพาเวอร์ ไทม์ ออนไลน์ : ข้อมูลธุรกิจการลงทุน
  • www.stockcircle.net  คู่มือหาเงินจากตลาดหุ้น
  • www.stockaction.net 
  • www.stocktheday.com  คู่มือ,คู่คิด,พิชิตหุ้น,ข้อมูลการลงทุน
  • www.bluechiplive.com
  • www.bluechippopular.com หุ้นเด่น ปันผลงาม สร้างความมั่งคั่ง
  • www.bluechipdividend.com คู่มือ,คู่คิด,พิชิตหุ้นปั้นผลเด่น
  • www.bluechipstable.com คู่มือ,คู่คิด,พิชิตหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง..
  • www.bluechipfirms.com หุ้นพื้นฐาน แข็งแกร่ง มั่นคง
  • www.investorguidetoday.com คูมือ คู่คิด พิชิตหุ้น ข้อมูลการลงทุน
  • www.moneylifetoday.com เส้นทางการเงิน : เงิน คือ ชีวิต ไม่ตายต้องหาไว้ก่อน
  • www.money2workonline.com  ใช้เงินทำงาน : เงิน ทอง ต้องงอกเงย ดั่งถั่วงอก
  • www.smartgrowthtoday.com  เติบโต อย่างยั่งยืน : ทุกก้าวย่าง เพรียบพร้อมอย่างมั่นคง
  • www.bizbiweekly.com รอบรู้ รอบด้าน ประกัน ขายตรง.
  • www.businessbiweekly.com รอบรู้ ประกัน ขายตรง
  • www.condonaifan.com วาดฝัน สร้างวิมานในคอนโด
  • www.condowonderful.com คอนโดหรูอลังการ วิมานในฝัน
  • www.bannaifan.com บ้านในฝัน : บ้าน คือ วิมานของเรา
  • www.micetoday.com  ประชุมสนุกสนาน ท่องเที่ยวสบาย
โปรแกรมสรุปข้อมุลทางเทคนิคได้รับการควบคุมระบบการทำงานโดยInvesting.com ประเทศไทย
สนับสนุนโดย Investing.com
การเมือง

วันพฤหัสบดี, 03 กุมภาพันธ์ 2565 20:43

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าว Sanook News หลังจากพรรคก้าวไกล เปิดตัวนายวิโวจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลงสมัครผู้ว่า กทม.

การเมือง

วันพฤหัสบดี, 03 กุมภาพันธ์ 2565 20:26

ก้าวไกล เปิดตัว วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ลงสู้ศึกเลือกตนั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ภายใต้สโลแกน “พร้อมชน เพื่อคนกรุงเทพฯ” พิธา เปรียบปักเสาหลักพรรคลงกลางกรุงเทพฯ

การเมือง

วันพฤหัสบดี, 03 กุมภาพันธ์ 2565 20:25

ยุทธพงศ์ มองสภาล่มซ้ำซาก ซ้ำ พปชร. ขับกลุ่มธรรมนัสพ้นพรรค 21 เสียง แนะ ยุบสภาก่อน 22 พ.ค. 65 ลือแซะ เรืองไกร หายไปไหนไม่สอบ พปชร. หรือรอผู้ใหญ่ใจดีสั่ง

ผู้เข้าชมในขณะนี้

มี 570 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์